“ทนายยิ่งลักษ์” ไขข้อข้องใจ กรณีโยกย้าย “ถวิล เปลี่ยนศรี” พ้นจากตำแหน่งเลขาฯ สมช. “ทำไม 2 ศาลแล้ว รอด!”

“ทนายยิ่งลักษ์” ไขข้อข้องใจ กรณีโยกย้าย “ถวิล เปลี่ยนศรี” พ้นจากตำแหน่งเลขาฯ สมช. “ทำไม 2 ศาลแล้ว รอด!”

วันที่ 27 ธ.ค. 2566 นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความประจำตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ชี้แจง กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยกฟ้องไร้ความผิดทางอาญาและให้ถอนหมายจับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) โดยระบุว่า

หลายคน ยังตั้งคำถามแบบเอาเรื่อง

หลายคน ยังงง ทำไม 2 ศาลแล้วรอด

ผมขอแสดงความเห็นจากที่ได้ฟังคำวินิจฉัยของศาลตามคำพิพากษาศาลฎีกาฯ และตามที่เราเข้าใจและได้ต่อสู้ไว้ในคดี มีสาระสำคัญว่า

แม้จะมีคำวินิจฉัยของ 2 ศาลมาแล้ว แต่โครงสร้างความรับผิดทางอาญา ต้องประกอบด้วย การกระทำ ที่ต้องมีเจตนา และข้อหาปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตนั้น จำต้องมีเจตนาพิเศษด้วย

ศาลฎีกาฯ ท่านจึงต้องพิจารณาและวินิจฉัยจากพยานในการไต่สวนของ ป.ป.ช. ให้ได้ข้อเท็จจริงและมีพยานหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ให้แน่ใจว่าจะลงโทษจำเลยได้ ด้วย

#ความน่าสนใจของทางนิติศาสตร์ที่แตกต่างกัน 2 ประการ คือ

1.นิติวิธีทางกฎหมาย
2.เจตนารมย์ของกฎหมาย

ทั้งสองประการส่งผลต่อการตีความและการให้เหตุผลในการวินิจฉัยของศาลที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่าศาลรัฐธรรมนูญ อาจตัดสินตามกฎหมายและยังต้องมองมิติในด้านทางการเมืองในเวลานั้นด้วย

ข้อพิจารณาเพิ่มเติม (ความเห็นส่วนตัว)

ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 211 วรรค 4 บัญญัติให้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสรพ และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งขอบเขตของการมีผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนี้ แยกออกเป็น

1.ผลของคำวินิจฉัย ผูกพันทุกองค์กร
2.เหตุผลที่ศาลใช้จะผูกพันทุกองค์กร จะต้องเป็นเหตุผลที่เป็นสาระสำคัญในการวินิจฉัยเท่านั้น ไม่รวมถึงเหตุผลแวดล้อมหรือเหตุผลประกอบที่ศาลรัฐธรรมนูญหยิบยกเพื่อสนับสนุนคำวินิจฉัยของตน

สำหรับกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2557 ผลผูกพัน คือ ความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุด ส่วนเหตุผลที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็นการก้าวก่ายแทรกแซง.เข้าใจว่าเป็นเพียงเหตุผลแวดล้อม หรือเหตุผลประกอบที่ศาลหยิบยกมาเพื่อสนับสนุนคำวินิจฉัยเท่านั้น

บางคดีสำคัญก่อนหน้านี้ ศาลยุติธรรม ก็รับฟังพยานหลักฐานจากการสอบสวนและทางนำสืบในชั้นพิจารณาจากพยานหลักฐาน แตกต่างจากศาลรัฐธรรมนูญ ที่จำเลยยกเอาคำวินิจฉัยที่เป็นคุณมาใช้ต่อสู้ในศาล.แต่เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาถึงสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ส่วนศาลยุติธรรมจะพิจารณาวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาจากการกระทำในทางอาญาให้ชัดแจ้งจึงจะลงโทษหรือยกฟ้อง บันทึกหมายเหตุคดีนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจโอนย้ายข้าราชการระดับสูง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

"ศ.ดร.นฤมล" ลงนามแต่งตั้ง 4 ที่ปรึกษาด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

“ศ.ดร.นฤมล” ลงนามแต่งตั้ง 4 ที่ปรึกษาด […]

You May Like

Subscribe US Now