“อว. รวบรวมสถิติสำคัญ ในวันที่ทั่วโลกได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 รวมกันกว่า (one)(zero)(zero)(zero) ล้านโดส”

 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่า “ขณะนี้ได้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก แล้วถึงระดับ 1,000 ล้านโดส ใน 191 ประเทศ/เขตปกครอง ใช้เวลาเพียง 138 วัน เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยความเร็วในการฉีดรวดเร็วเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง 500 ล้านโดสแรกใช้เวลา 108 วัน ในขณะที่ 500 ล้านโดสหลัง ใช้เวลาเร็วขึ้น 3 เท่า เพียง 30 วันเท่านั้น”

ในขณะนี้ อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 18.3 ล้านโดสต่อวัน โดยอิสราเอล มัลดีฟส์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฉีดวัคซีนครอบคลุมเฉลี่ยกว่าครึ่งของประชากร ในขณะที่สหรัฐอเมริกาฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือประเทศจีน โดยจีนได้เร่งฉีดวัคซีนได้ถึงวันละ 4.1 ล้านโดส และสหรัฐอเมริกาฉีดวันละ 2.8 ล้านโดส คาดว่าจีนน่าจะเป็นประเทศที่ฉีดวัคซีนจำนวนมากที่สุดในโลกภายในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้สหรัฐอเมริกาและจีน ได้ฉีดวัคซีนรวมกันคิดเป็นเกือบครึ่งของจำนวนการฉีดทั่วโลก

“สำหรับประเทศไทย ได้ฉีดวัคซีนแล้วรวม 1,124,153 โดส ซึ่งมีผู้ที่ฉีดครบสองเข็มแล้ว 175,029 คน” จังหวัดที่ฉีดวัคซีนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร และมี 31 จังหวัดที่ฉีดวัคซีนเข็มที่สองแล้ว ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 52 เป็นบุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข และ อสม. รองลงมาอีก 28% เป็นประชากรในพื้นที่เสี่ยง” “ทั้งนี้มีผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส จำนวน 949,124 คน หรือเท่ากับประมาณ 1.43% ของประชากร” ปลัดกระทรวง อว. สรุป

ในขณะที่ทุกประเทศในอาเซียนได้ฉีดวัคซีนแล้วรวมกันมากกว่า 28 ล้านโดส โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่ฉีดวัคซีนในสัดส่วนมากที่สุดครอบคลุมเกือบ 1 ใน 5 ของประชากร ส่วนอินโดนีเซียฉีดวัคซีนจำนวนมากที่สุดถึง 18.5 ล้านโดส

🌏 ในการฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 1,000 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1.ระยะเวลาที่ใช้เวลาในการฉีดวัคซีนถึง 500 ล้านโดสแรก ในเวลา 108 วัน ในขณะที่ 500 ล้านโดสหลัง ใช้เวลา 30 วัน (เร็วขึ้น 3 เท่า)
-แตะ 200 ล้านโดส ในเวลา 75 วัน
400 ล้านโดส ในเวลาอีก 25 วัน
600 ล้านโดส ในเวลาอีก 14 วัน
800 ล้านโดส ในเวลาอีก 12 วัน
และ 1,000 ล้านโดส ในเวลาอีกเพียง 12 วัน

2. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด
มี 4 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส ได้แก่
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 225.64 ล้านโดส (22.4% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. จีน จำนวน 216.08 ล้านโดส (21.4%)
3. อินเดีย จำนวน 140.80 ล้านโดส (14%)
4. สหภาพยุโรป จำนวน 126.34 ล้านโดส (12.5%)

3. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด
มี 3 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรมากกว่า 40% แล้ว ได้แก่
1. อิสราเอล (ครอบคลุมอย่างน้อย 57.4% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
2. มัลดีฟส์ (48.5%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford)
3. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (47.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)

4. ความเร็วในการฉีดวัคซีน สูงที่สุด 10 อันดับแรก (เฉลี่ยล่าสุด)
1. จีน (เฉลี่ยวันละ 4.1 ล้านโดส)
2. สหรัฐอเมริกา (วันละ 2.8 ล้านโดส)
3. อินเดีย (วันละ 2.6 ล้านโดส)
4. สหภาพยุโรป (วันละ 2.4 ล้านโดส)
5. บราซิล (วันละ 1 ล้านโดส)
6. รัสเซีย (วันละ 0.7 ล้านโดส)
7. เยอรมนี (วันละ 0.5 ล้านโดส)
8. สหราชอาณาจักร (วันละ 0.5 ล้านโดส)
9. คาซัคสถาน (วันละ 0.4 ล้านโดส)
10. เม็กซิโก (วันละ 0.4 ล้านโดส)
ทั้งนี้มี 5 ประเทศ/ภูมิภาค ที่ฉีดวัคซีนประมาณวันละ 1 ล้านโดสหรือมากกว่า ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย สหภาพยุโรป และบราซิล

5. จำนวนการฉีดวัคซีน แยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 47.74%
2. อเมริกาเหนือ 25.44%
3. ยุโรป 17.89%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.02%
5. แอฟริกา 1.69%
6. โอเชียเนีย 0.22%

6. ยอดการจองวัคซีนทั่วโลก รวมกันประมาณ 9,600 ล้านโดส
-ประเทศที่มียอดการจองวัคซีนจำนวนมากที่สุด ได้แก่ อินเดีย
-วัคซีนที่ได้รับการจองมากที่สุดคือวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford
-ประเทศที่มีการจองวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดคือ สหราชอาณาจักร

7. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วในทุกประเทศ รวมกัน 28,133,888 โดส ได้แก่
1. สิงคโปร์ จำนวน 2,213,888 โดส (ครอบคลุมประชากรอย่างน้อย 19.5% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna
2. กัมพูชา จำนวน 1,915,966 โดส (5.7% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm Sinovac และ AstraZeneca
3. อินโดนีเซีย จำนวน 18,556,227 โดส (3.5% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
4. มาเลเซีย จำนวน 1,290,414 โดส (2% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Sinovac
5. ลาว จำนวน 179,525 โดส (1.2% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm และ Sputnik V
6. พม่า จำนวน 1,040,000 โดส (1% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
7. ไทย จำนวน 1,124,153 โดส (0.8% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
8. ฟิลิปปินส์ จำนวน 1,612,420 โดส (0.7% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
9. บรูไน จำนวน 2,323 โดส (0.3% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm และ AstraZeneca
10. เวียดนาม จำนวน 198,972 โดส (0.1% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ AstraZeneca

8. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย
ได้จัดส่งวัคซีนแล้วจำนวน 2,003,846 โดส จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 1,124,153 โดส ณ วันที่ 25 เมษายน 2564 แบ่งเป็นเข็มแรก 949,124 โดส และเข็มสอง 175,029 โดส โดยฉีดแล้วครบทุกจังหวัด
หากพิจารณาจากผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส จะมีจำนวน 949,124 คน หรือเท่ากับ 1.43% ของประชากร

8.1 สัดส่วนการฉีดวัคซีนแบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย
– บุคลากรการแพทย์ สาธารณสุขและ อสม. 52%
– ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 28%
– เจ้าหน้าที่อื่นๆที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 13%
– บุคคลที่มีโรคประจำตัว 4%
– ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 3%

8.2 จังหวัดที่มีการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 สูงสุด 10 อันดับแรก
– กรุงเทพมหานคร
– สมุทรสาคร
– ภูเก็ต
– สุราษฎร์ธานี
– ตาก
– ชลบุรี
– นนทบุรี
– สมุทรปราการ
– ปทุมธานี
– นครราชสีมา

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, Covidvax, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

#อว.
#วัคซีน
#โควิด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

รายงานข้อมูลสถานการณ์คุณภาพอากาศ ณ วันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2564

คุณภาพอากาศโดยรวมของพื้นที่กรุงเทพฯ มีค่าฝุ่นละออง […]

You May Like

Subscribe US Now