“พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” เร่งพัฒนาขนส่งสาธารณะ – ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในพื้นที่ EEC ร่วมบูรณาการคมนาคมมหาดไทยเพื่อการพัฒนาระบบเพิ่มประสิทธิภาพบริการประชาชน

 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” เร่งพัฒนาขนส่งสาธารณะ – ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในพื้นที่ EEC ร่วมบูรณาการคมนาคมมหาดไทยเพื่อการพัฒนาระบบเพิ่มประสิทธิภาพบริการประชาชน

วันที่ 20 กันยายน 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 2/2564 ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

 

 

พล.อ.ประวิตรฯ กล่าวว่า ในวันนี้ที่ประชุมมีเรื่องต่างๆ ที่ คจร. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการหลายเรื่อง ขณะเดียวกันที่ประชุมได้เห็นชอบ แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ กลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง สำหรับรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อขับเคลื่อนโครงการไปสู่การปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ EEC และเห็นชอบโครงการศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟ ร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorways-Railways Masterplan : MR-Map)

 

 

พล.อ.ประวิตรฯ กล่าวว่า สำหรับแผนพัฒนาโครงข่ายดังกล่าว ในเบื้องต้นได้มีการจัดทำร่างโครงข่ายเส้นทางจำนวน 10 เส้นทาง ระยะทางรวม 6,540 กิโลเมตร โดยจัดทำเป็นโครงการนำร่อง 4 เส้นทาง ได้แก่

1.เส้นทาง กาญจนบุรี(ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี(สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) 2.เส้นทาง ชุมพร-ระนอง
3.เส้นทางหนองคาย-แหลมฉบัง
4.เส้นทางวงแหวนรอบนอก กทม.รอบที่ 3

 

ซึ่งจะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย และเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งทางถนน,ทางราง,ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน

 

 

พล.อ.ประวิตรฯ กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบโครงการระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง(สถานีรังสิต) จ.ปทุมธานี โดยมีรูปแบบการเดินรถที่สอดคล้องกับระบบรถไฟฟ้า(on Schedule services) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้บริการได้กับประชาชนทุกคน รวมถึงผู้พิการด้วย ทั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้า แผนการติดตั้งระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น(M-Flow) ซึ่งจะเปิดให้บริการ ตุลาคม 2564 จำนวน 4 ด่าน (ด่านทับช้าง 1,2 และด่านธัญบุรี1,2)

ผมขอเน้นย้ำ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน อย่างจริงจัง ต้องเร่งรัดแผนงานและโครงการให้รวดเร็ว สามารถรองรับการบริการประชาชนได้ อย่างทั่วถึง ทั้งการขนส่งและการจราจร เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศ ให้ก้าวหน้าอย่างไม่มีขีดจำกัดในอนาคตต่อไป” พล.อ.ประวิตรฯ กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

"ศปฉ.พปชร." มอบหมาย "ส.ส.สมบัติ อำนาคะ" เขต 2 สระบุรี นำถุงยังชีพ ช่วยผู้กักตัวและกลุ่มเสี่ยง จากผลกระทบโรค Covid -19 ต่อเนื่อง

“ศปฉ.พปชร.” มอบหมาย “ส.ส.สมบัติ […]

You May Like

Subscribe US Now