“มังกรจีน” สยายปีก เปิดศักราชใหม่ของความร่วมมือ ‘BRICS’​ พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์​หน้าใหม่ให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อมวลมนุษยชาติ

“มังกรจีน” สยายปีก เปิดศักราชใหม่ของความร่วมมือ ‘BRICS’​ พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์​หน้าใหม่ให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อมวลมนุษยชาติ

 

 

วันที่ 22-24 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม BRICS Business Forum ในกรุงปักกิ่งผ่านทางวิดีโอและกล่าวปาฐกถา และเป็นประธานในการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 14 การประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาของโลก และกรอบความร่วมมือ BRICS Plus และกล่าวสุนทรพจน์ ปีนี้เป็นปีครบรอบ 16 ปีของการก่อตั้งกลไกความร่วมมือ BRICS ทั้งยังเป็น “ปีแห่งประเทศจีน” สำหรับ BRICS อีกด้วย

…. ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพจัดงาน BRICS มากกว่า 170 ครั้ง รวมถึงงานในด้านต่าง ๆ ตลอดทั้งปี เฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก มีการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีมากกว่า 20 ครั้ง งาน “BRICS+” แต่ละครั้งมีเสน่ห์สามารถดึงดูดประเทศที่ไม่ใช่กลุ่ม BRICS ได้มากกว่า 50 ประเทศให้เข้าร่วมกิจกรรม

 

…. ในปีนี้กิจกรรมในกลุ่ม BRICS จะสามารถบรรลุความสำเร็จได้ถึง 37 รายการ ซึ่งจะเป็นการยกระดับของความร่วมมือ BRICS ให้สูงขึ้นอีกระดับหนึ่งทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ
โดยปัจจุบัน โลกกำลังเดินทางเข้าสู่ช่วงใหม่แห่งความปั่นป่วนและการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในรอบร้อยปีผสมผสานกับโรคระบาดแห่งศตวรรษ ส่งผลทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงของโลกที่สลับซับซ้อน รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีความยากลำบาก และการพัฒนาของโลกกำลังเผชิญหน้ากับการพัฒนาที่ทวนกระแส

… ดังนั้น การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน การพิทักษ์สันติภาพและความมั่นคงของโลกเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030 ของสหประชาชาติ คือความปรารถนาร่วมกันของประชาชนทุกประเทศที่วโลก

 

.. .. “ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง” ท่านมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล โดยยึดความผาสุกของมนุษยชาติเป็นเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ และได้นำให้การประชุม BRICS สร้างผลความสำเร็จอันมีลักษณะเป็นการบุกเบิก ชี้นำ และเป็นไปตามกลไก ช่วยผลักดันการขยายความร่วมมือของ BRICS ในเชิงกว้างและลงลึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเสริมพลังให้มีเสถียรภาพ สร้างสรรค์ให้กับ BRICS ซึ่งช่วยสร้างคุณูปการใหม่ ๆ ต่อสันติภาพและการพัฒนาของโลก สามารถตอบโจทย์ในยุคสมัยได้อย่างลึกซึ้ง ทั้งยังร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ…. “โลกจะไปทางไหน? สันติภาพหรือสงคราม?”… “พัฒนาหรือเสื่อมถอย?”… “เปิดกว้างหรือปิดกั้น?” “ร่วมมือหรือเผชิญหน้า?”,, นี่คือโจทย์ของยุคสมัยเรา

… ไม่ว่าสถานการณ์ระหว่างประเทศจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แนวโน้มทางประวัติศาสตร์ของการพัฒนาแบบเปิดกว้างจะไม่เปลี่ยนแปลง เราต้องเข้าใจกฎแห่งการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง… กล้าเผชิญหน้ากับความท้าทาย และผลักดันการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติอย่างแน่วแน่

 

…. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่เราอยู่นั้นมีการพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพโดยภาพรวมมาโดยตลอด ซึ่งมีการสร้างกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงและความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนเป็น “โอเอซิสแห่งสันติภาพของโลก” อีกทั้งยังเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพและมีการพัฒนาในอัตราสูง สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดาย

…. จีนจะสนับสนุนความเป็นปึกแผ่นของอาเซียนและร่วมกันการสร้างประชาคมอาเซียนให้มี”ความมั่นคงมั่งคั่ง และยั่งยืน”… โดยสนับสนุนและผลักดันความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างภูมิภาค และมีการทำงานร่วมกับกันประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อดำเนินการตามฉันทามติที่สำคัญ ซึ่งจะบรรลุถึงในการประชุมสุดยอดฉลองครบรอบ 30 ปีของความสัมพันธ์คู่เจรจาระหว่าง จีน-อาเซียนเมื่อปีที่แล้ว โดยมีความเข้าใจแนวโน้มการพัฒนาของโลก ขจัดการแทรกแซง แบ่งปันโอกาส และเอาชนะความท้าทายร่วมกัน เพื่อนำความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน โดยนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีน-อาเซียน ให้มีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศชาติและบ้านเมืองก่อเกิดสันติภาพ ความสงบสุข ความเจริญรุ่งเรือง ความสวยงาม รวมทั้งความมีมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน เกิดความร่วมมือร่วมใจกันช่วยปกป้องความยุติธรรมและความเป็นธรรมระหว่างประเทศ ร่วมกันสนับสนุนผลักดันและพิทักษ์สันติภาพอันก่อเกิดความสงบสุขของโลกได้ในอนาคต

 

…. ประสบการณ์ในอดีตย่อมเป็นสิ่งที่เตือนใจคนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี ประวัติศาสตร์อันน่าเศร้าใจของสงครามโลกทั้งสองครั้ง และการเผชิญหน้ากันในสงครามเย็น บ่งบอกให้เราทราบว่า บรรดาลัทธิที่หวังการครอบครองความเป็นเจ้าการเมือง โดยแบ่งกเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมทั้งการเผชิญหน้ากัน โดยการแบ่งพรรคแบ่งพวก จะไม่ส่งผลให้ก่อเกิดสันติภาพและมีความมั่นคง

… ทว่าจะเป็นการจุดประกายและนำไปสู่การเกิดสงครามและความขัดแย้ง วิกฤตการณ์ในยูเครนเปรียบดั่งสัญญานเตือนชาวโลกอีกครั้งว่า ความหลงเชื่อในอำนาจของตนและการขยายพันธมิตรทางทหาร การแสวงหาความมั่นคงของตนเองโดยต้องแลกกันกับความมั่นคงของประเทศอื่น ๆ จะนำไปสู่สภาวะการณ์ที่ยากลำบากเป็นอย่างยิ่งด้านความมั่นคงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบัน บางประเทศได้เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยร่างกาย แต่มันสมองยังอยู่ในยุคสงครามเย็น เมื่อเจอกับความไม่สมดุลในการปกครองภายในประเทศ เกิดความเหลื่อมล้ำและมีการขยายตัวกว้างมากขึ้น รวมทั้งการแบ่งขั้วทางการเมือง โดยพวกเขาจะไม่สามารถทำอะไรได้ เพียงแต่เร่งดำเนินการทางยุทธศาสตร์การกีดกันในระดับโลก มีการยั่วยุเกิดการเผชิญหน้าระหว่างประเทศมหาอำนาจที่ รังแกประเทศขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมทั้งการก่อกวนโลกทั้งใบ จนไม่มีความสงบสุข

…. ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอข้อแนวคิด.. ริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลกในสุนทรพจน์ ณ ที่ประชุมเอเชียโป๋อ๋าว (Boao Forum for Asia) ประจำปีนี้ โดยกล่าวว่า จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับหุ้นส่วนกลุ่ม BRICS เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลก และเพื่อบุกเบิกเส้นทางการรักษาความมั่นคงยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นการเจรจา แต่ไม่ใช่การเผชิญหน้า เน้นการเป็นหุ้นส่วน แต่ไม่ใช่การเป็นพันธมิตร และร่วมแรงร่วมใจจนได้ชนะร่วมกัน ทว่าไม่ใช่ผลรวมกันเป็นศูนย์ หรือไม่ได้ประโยชน์​อันใดเลย

…. จีนยังมุ่งเน้นย้ำถึงการส่งเสริมค่านิยมร่วมกันของมนุษยชาติที่มีสันติภาพ การพัฒนา ความยุติธรรม ความเป็นธรรมการเป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพ ปฏิบัติตามความรับผิดชอบและพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างเข้มแข็ง ทั้งยังยึดมั่นในระบบพหุภาคีอย่างแท้จริง และปกป้องระบบระหว่างประเทศที่มีสหประชาชาติเป็นศูนย์กลางและระเบียบระหว่างประเทศที่ถือกฎหมายระหว่างประเทศเป็นพื้นฐานอย่างแน่วแน่

…. เราจะยังคงรักษาความเป็นผู้สร้างสันติภาพของโลก มีส่วนสนับสนุนในการพัฒนาของโลก และยังเป็นผู้พิทักษ์ระเบียบระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาร่วมมือกัน เพื่อสร้างโลกยุคใหม่ของการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองในระดับโลกต่อไป

… การพัฒนาเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญตลอดกาลของสังคมมนุษย์ และเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และปัจจัยสำคัญอันส่งผลต่อความสุขผาของประชาชน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อปีที่แล้ว โดยเรียกร้องให้มีการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030 แห่งสหประชาชาติ เพื่อผลักดันในการสร้างความสัมพันธ์ที่นับเป็นหุ้นส่วนกันในการพัฒนาระดับโลกที่จะช่วยเสริมสร้าง ความสามัคคี ความเสมอภาค ความสมดุล และมีผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งยังช่วยผลักดันในการสร้างประชาคมการพัฒนาระดับโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก 100 กว่าประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น

 

… ประเทศจีนเพิ่งเปิดตัว “รายงานการพัฒนาระดับโลก” ซึ่งในรายงานได้นำเสนอนโยบาย 8 ด้านอันเกี่ยวกับการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 บนพื้นฐานของช่วงการพัฒนาใหม่ จีนจะใช้แนวคิดการพัฒนาใหม่ สร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่อย่างเข้มแข็ง และมุ่งมั่นที่จะบรรลุการพัฒนาที่มีคุณภาพต่อไป.

 

 

…. ด้านประเทศไทย ได้สนับสนุนข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกอย่างเข้มแข็ง โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาของโลก ภายในกรอบความร่วมมือ “BRICS Plus” และนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงของกลุ่มเพื่อนมิตรของข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลก โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ทางการไทยส่งเสริมนั้น มีความสอดคล้องกับแนวคิด “น้ำใสและเขาเขียวเป็นภูเขาเงินภูเขาทอง” ที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงเสนอ โดยจีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและกลุ่มประเทศ BRICS เพื่อเร่งดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030 ขององค์การสหประชาชาติ พัฒนาข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันสร้างประชาคมการพัฒนาระดับโลกเพื่อช่วยให้บรรลุการพัฒนาระดับโลกที่แข็งแกร่ง มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนไป ร่วมกันปรับปรุงธรรมาภิบาลของโลกให้เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไป

… ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ชี้ให้เห็นถึง การยอมรับความแตกต่างโดยไม่แบ่งแยกกลุ่มพวก โดยเน้นให้เกิดการเอื้อผลประโยชน์ร่วมกันนั้น เป็นเส้นทางที่ถูกต้องของสังคมโลก ข้อเท็จจริงได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าแล้วว่า การคว่ำบาตรเป็น “บูมเมอแรง” และ “ดาบสองคม” และทำให้ปัญหาเศรษฐกิจโลกแปรเปลี่ยนเชื่อมโยงไปสู่การเมืองของโลก ทั้งยังเป็นเครื่องมือกรุยทางเข้าสู่ภาวะสงคราม โดยมีการนำอาวุธสงครามและใช้ประโยชน์จากระบบการเงินระหว่างประเทศเพื่อการคว่ำบาตร ในที่สุดจะเป็นการทำร้ายคนอื่นและตัวเอง และทำให้ประชาชนทั่วโลก ต้องตกที่นั่งลำบาก ทั้งยังได้รับผลกระทบอย่างแสนสาหัส

 

….. เราต้องยึดมั่นในการเปิดกว้าง มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ชี้นำและส่งเสริมการพัฒนาที่ดีในยุคโลกาภิวัตน์ รักษาระบบการค้าพหุภาคีโดยมีองค์กรการค้าโลกเป็นแกนหลัก และส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้าง ยึดมั่นในการหารือร่วมกัน พัฒนาร่วมกันและแบ่งปัน และเพิ่มการเป็นตัวแทนและอำนาจของประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ และประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อให้มั่นใจในความเสมอภาคของสิทธิประโยชน์
ทั้งเรื่องกฎเกณฑ์ และโอกาสของแต่ละประเทศการผลักดันและเป็นผู้นำในการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลโลก อันเป็นภาระหน้าที่อันชอบธรรมของความร่วมมือ BRICS ซึ่งประเทศจีนได้ยึดมั่นในการพัฒนาอย่างสันติและสนับสนุนความร่วมมือช่วยเอื้อประโยชน์ร่วมกัน จีนได้กลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของ 130 กว่าประเทศและภูมิภาคของโลก และได้ลงนามร่วมกับ 149 ประเทศและอีก 32 องค์การระหว่างประเทศในเอกสารว่าด้วยความร่วมมือในการสร้าง “เส้นทาง” มากกว่า 200 ฉบับ โดยชาวจีนได้เริ่มเดินทางครั้งใหม่บนเส้นทางการสร้างประเทศแบบสังคมนิยมสมัยใหม่อย่างรอบด้าน เราจะเร่งสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่โดยมีวัฏจักรภายในประเทศเป็นหลักและมีวัฏจักรคู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศเสริมกำลังซึ่งกันและกัน เพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพ และแบ่งปันโอกาสในการพัฒนากับประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศไทย เพื่อแสดงบทบาทให้มากขึ้นในการปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นไป เพื่อส่งเสริมการขยายสมาชิกของกลไก BRICS เพื่อเริ่มการเดินทางครั้งใหม่ของความร่วมมือ BRICS

“ดอกไม้ดอกเดียวมิใช่ฤดูใบไม้ผลิ และห่านฟ้าเพียงตัวเดียวก็ไม่สามารถเดินทางเป็นกลุ่มได้”

…… ความสำคัญของความร่วมมือ BRICS ได้ขยายขอบเขตเกินกว่า 5 ประเทศไปแล้ว ทั้งยังได้สร้างความคาดหวังของประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาและตลอดจนสังคมโลกอีกด้วย โดยกลุ่มประเทศ BRICS ไม่ใช่สโมสรแบบปิดหรือ “ก๊วนเล็ก” ที่กีดกันคนนอก แต่เป็นครอบครัวใหญ่ที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งยังเป็นหุ้นส่วนที่ดีเพื่อความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

…. 16 ปีที่ผ่านมา กลไกความร่วมมือของ BRICS ได้พัฒนาจนกลายมาเป็นกลไกที่นำโดยการประชุมของผู้นำ และเสริมด้วยการประชุมระดับรัฐมนตรี เช่น การประชุมผู้แทนระดับสูงด้านกิจการความมั่นคงและการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ และขับเคลื่อนแบบ “สามล้อ” ซึ่งประกอบด้วย ความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การเงิน และการแลกเปลี่ยนสังคม วัฒนธรรม จนกลายเป็นเวทีสำคัญของความร่วมมือสำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เข้มแข็งและยั่งยืน ทั้งยังเกิดความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน กลับกลายมาเป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกและส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน

 

….. จีนเสนอให้เริ่มกระบวนการขยายสมาชิกกลุ่ม BRICS หารือมาตรฐานและขั้นตอนการขยายสมาชิก และบรรลุฉันทามติอย่างเป็นลำดับ ซึ่งจะช่วยแสดงให้เห็นถึงการเปิดกว้างและความครอบคลุมของกลุ่มประเทศ BRICS เพื่อ ตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับความเป็นตัวแทนและอำนาจของกลุ่มประเทศ BRICS ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาของโลก ใน 5 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การนำเสนอแนวคิดของความร่วมมือ “BRICS+” BRICS ได้กลายเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินการความร่วมมือใต้ใต้ และบรรลุความเป็นหุ้นส่วนและพัฒนาตนเอง ในปีนี้ การประชุมในกลุ่ม “BRICS+” ได้รับการยกระดับ โดยเป็นการหารือในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นครั้งแรก

 

โดย “ปฏิญญาปักกิ่ง” เน้นย้ำถึงความพยายามของประเทศในกลุ่ม BRICS ในการขยายความร่วมมือกับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ และช่วยสนับสนุนการส่งเสริมการหารือนอกสมาชิกและความร่วมมือ “BRICS+” การประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาของโลกสะท้อนให้เห็นถึงการเปิดกว้างและความครอบคลุมของความสัมพันธ์หุ้นส่วน BRICS รวมทั้งการหารือนอกกลุ่มสมาชิกและความร่วมมือ “BRICS+” ซึ่งจะเป็นการเสริมแรงผลักดันใหม่ในการเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างประเทศ และดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2030

 

…. ในฐานะที่เป็นประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญ ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในกิจการระหว่างประเทศและภูมิภาค เป็นผู้มีส่วนร่วมและเป็นผู้ผลักดันการพัฒนาระหว่างประเทศอย่างเข้มแข็ง ประเทศจีนและประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดี เพื่อนที่ดี เป็นหุ้นส่วนที่ดีและญาติที่ดี ทั้งสองฝ่ายมีความไว้เนื้อเชื่อใจทางการเมืองอย่างลึกซึ้ง มีผลประโยชน์ร่วมกันในหลากหลายมิติ และมีศักยภาพในความร่วมมือสูง

… ดังนั้นประเทศจีนยินดีร่วมมือกับประเทศไทยและประเทศตลาดเกิดใหม่ตลอดจนประเทศกำลังพัฒนา เพื่อร่วมมือร่วมใจกัน เคียงบ่าเคียงไหล่ สร้างรูปแบบการพัฒนาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ก่อเกิดความสมดุล มีความครอบคลุมและการไม่แบ่งแยกกัน มีความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันและมีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ทั้งยังร่วมมือกันสร้างประชาคมให้มีความเจริญรุ่งเรือง ถือเป็นการกำหนดหรือชี้ชะตาอนาคตของมนุษยชาติร่วมกัน… และเร่งสร้างอนาคตที่ดีกว่าต่อมนุษยชาติ….

…….

Story by :นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย)

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

‘ธรรมนัส’ รับหนังสือตัวแทนสมาคม อบต. แห่งประเทศไทย

‘ธรรมนัส’ รับหนังสือตัวแทนสมาคม อบต. แห่งประเทศไทย […]

You May Like

Subscribe US Now