กมธ.ขอบคุณ สภาฯ ผ่านร่างกฎหมาย สมรสเท่าเทียม ชี้เหมือนจุดไฟความเท่าเทียมสังคมไทย ยกระดับประชาคมโลก 

กมธ.ขอบคุณ สภาฯ ผ่านร่างกฎหมาย สมรสเท่าเทียม ชี้เหมือนจุดไฟความเท่าเทียมสังคมไทย ยกระดับประชาคมโลก 

วันที่ 27 มี.ค.67 ที่อาคารรัฐสภา นายดนุพร ปุณณกันต์ สส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ร่าง พรบ.สมรสเท่าเทียม แถลงขอบคุณหลังสภาฯโหวตผ่านร่างดังกล่าวในวาระ 2 และ 3 กว่า 400 เสียง

นายดนุพร กล่าวว่า ทุกภาคส่วนทำงานไม่แบ่งว่าเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลทำงานด้วยความรอบคอบที่จะแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ให้มีผลบังคับใช้กับทุกคน ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ชายหญิงทั่วไปที่เคยได้รับสิทธิ์อย่างไร ก็จะได้รับสิทธิ์นั้นเช่นเดิมและการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ เป็นการยกระดับประเทศไทยในสายตาของโลก ว่าประเทศไทยเริ่มขยับในความเท่าเทียมกันทางสังคม เหมือนเริ่มจุดไฟดวงแรกที่จะทำให้ประเทศนี้มีความเท่าเทียมกันในสังคม 

“กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้แก้ไขเพื่อให้สิทธิ์กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่กฎหมายฉบับนี้เขียนมาเพื่อคนไทยทุกคน และต้องการคืนสิทธิ์ให้กลุ่ม lgbtq+ ที่เลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกที่จะเป็นได้ตามสิทธิและเสรีภาพของรัฐธรรมนูญ และขอให้สบายใจว่ากฎหมายฉบับนี้หญิงชายทั่วไปไม่เสียสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นการคืนทั้งสิทธิ์ในการรักษาพยาบาล สิทธิ์ในการลงชื่อเพื่อยินยอมในการรักษา สิทธิ์ในการเบิกจ่ายภาษีเมื่อมีคู่สมรส รวมถึงสิทธิ์ในการซื้อประกันชีวิตประกันสุขภาพที่มีทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย ให้แก่กลุ่ม lgbtq+ และประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมเกิดขึ้น”นายดนุพร กล่าว

สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ กฎหมายฉบับนี้จะถูกนำส่งไปถึงสมาชิกวุฒิสภาโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะเป็นวันที่ 2 เมษายนนี้ ซึ่งตนได้พูดคุยกับสว.หลายคนเป็นไปในทิศทางบวกที่จะโหวตผ่านให้ในชั้นวุฒิสภา และในส่วนของกฎหมายอัตลักษณ์ทางเพศ นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ จะยื่นกลับเข้ามาสู่สภาอีกครั้ง หลังเปิดสมัยการประชุมสภาฯ

 

ด้าน นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ร่าง พรบ.สมรสเท่าเทียม กล่าวว่า ตนอยากชี้แจงข้อสังเกต ซึ่งทางกลุ่ม NGO ด้านภาคประชาชนที่เสนอหลักการดังกล่าว “ตนเห็นด้วย” ดังนั้น เราต้องดำเนินเรื่องกฎหมายต่อไป อย่างกฎหมายการรับรองเพศ คำนำหน้านาม เพื่อให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้นิยามตัวตนในบทบาทที่เป็นผู้ปกครอง หรือเป็น บิดา-มารดา ตามเจตจำนงของเขา ซึ่งจะอยู่ในหมวดการแสดงเจตจำนงอัตลักษณ์ทางเพศ 

ทั้งนี้ ได้มีการสอบถามถึงกฎหมายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ทางเทคโนโลยี ซึ่งเรื่องนี้มีการพูดคุยและทำงานกันแล้วว่า กฎหมายเดิมมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่า คู่สมรสที่ไม่สามารถมีบุตรได้ด้วยทางกายภาพ ก็สามารถใช้สิทธิ์วิทยาการการตั้งครรภ์ ขณะเดียวกันมีการพูดคุยกันว่าคู่สมรสบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ เราต้องกำหนดเงื่อนไขที่ต่างออกไป เพราะเขาอาจจะไม่ได้มีประเด็นในเรื่องของกายภาพ แต่อาจเป็นในเรื่องของเพศวิถีและการสมรสของเขา ซึ่งจะต้องใช้การตั้งครรภ์ทางเทคโนโลยี โดยจะต้องมีการแก้ไขกันต่อไป 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

"Airbnb" เปิดตัว "ไกด์บุ๊กเที่ยวกรุงเทพฯ 4 ย่านสร้างสรรค์"กระตุ้นเที่ยวสงกรานต์ในไทย

“Airbnb” เปิดตัว “ไกด์บุ๊กเที่ยว […]

You May Like

Subscribe US Now