หอการค้าทั่วประเทศ และ สมาคมการค้า 95 สมาคม ยื่นหนังสือเปิดผนึกต่อ “รมว.แรงงาน” คัดค้าน “ค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ”

หอการค้าทั่วประเทศ และ สมาคมการค้า 95 สมาคม ยื่นหนังสือเปิดผนึกต่อ “รมว.แรงงาน” คัดค้าน “ค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ”

วันที่ 13 พ.ค. 2567 ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ กรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และรองประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน พร้อมด้วยผู้แทนหอการค้าจังหวัด และสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมหารือผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (คุณพิพัฒน์ รัชกิจประการ) เป็นประธาน โดยมีสาระสำคัญดังนี้

หอการค้าไทย ได้ยื่นหนังสือคัดค้านนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยได้หอการค้าทั่วประเทศ และสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นมากกว่า 95 สมาคมการค้า ร่วมแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศดังกล่าว โดยยังคงสนับสนุนให้รัฐบาลพิจารณานโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี ตามหลักกฎหมายซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

ทั้งนี้ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หอการค้าทั่วประเทศ และสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น ขอนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล ดังนี้

1) หอการค้าทั่วประเทศ และสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น เห็นด้วยกับการมุ่งมั่นตั้งใจยกระดับรายได้เพื่อแรงงานไทยในประเทศไทยและวิถีชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น แต่การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีควรปรับตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนดไว้ในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ส่วนการยกระดับรายได้ลูกจ้างให้สูงขึ้น ก็สามารถทำได้โดยกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งกฎหมายบัญญัติกำหนดไว้แล้วเช่นกัน

2) ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ โดยไม่คำนึงถึงผลการศึกษาและการรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) อีกทั้ง ปัจจุบันรัฐบาลได้ดำเนินการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2567 ไปแล้ว 2 ครั้ง จึงไม่ควรมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีเป็นครั้งที่ 3

3) อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเพียงอัตราค่าจ้างของแรงงานแรกเข้าที่ยังไม่มีฝีมือ แต่การปรับอัตราจ้างควรพิจารณาจากทักษะฝีมือแรงงาน ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมมาตรการทางภาษี ลดอุปสรรคต่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการและแรงงาน ให้ความสำคัญกับการ UP-Skill & Re-Skill และ New Skill เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity)

4) การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจ ควรให้มีการรับฟังความคิดเห็นและศึกษาถึงความพร้อมของแต่ละพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจ รวมทั้งควรให้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจก่อนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจ ดังกล่าว

ทั้งนี้ รมว.แรงงาน จะรับข้อคิดเห็นฯ ของภาคเอกชน ไปพิจารณาหารือกับคณะรัฐมนตรี ต่อไป

 

#รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน #พิพัฒน์รัชกิจประการ #หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #คณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน #หอการค้าจังหวัด #สมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น #คัดค้านนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ400บาททั่วประเทศ #ค่าจ้างขั้นต่ำ400บาททั่วประเทศ #ข่าวเศรษฐกิจ #MissionThailand

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช

การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองในพื้นที่โค […]

You May Like

Subscribe US Now