โครงการทับทิมสยาม 04 ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

admin

โครงการทับทิมสยาม 04 ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมดำเนินการฟื้นฟูที่ศูนย์อพยพตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา
มีพระราชประสงค์ให้ความเป็นอยู่ของราษฎรที่ยากจนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีความห่วงใยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตามแนวชายแดน โดยเฉพาะพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ซึ่งมักจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในประเทศกัมพูชา

ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรและมีพระราชดำริในการฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น
ทรงพระราชทานชื่อว่า “โครงการทับทิมสยาม” กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

โครงการทับทิมสยาม 04 มีพื้นที่ดำเนินการอยู่ที่ หมู่ที่ 10 ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ อยู่ในเขตป่าที่คณะรัฐมนตรี
มีมติให้รักษาเป็นสมบัติของชาติ ป่าห้วยสำราญ อาณาเขตทิศเหนือจรดพื้นที่เกษตรกรรมบ้านกะเลงเวก ทิศใต้จรดอ่างเก็บน้ำกะเลงเวก 1 ทิศตะวันออกจรดบ้านกะเลงเวก ทิศตะวันตกจรดพื้นที่ป่าไม้อยู่ห่างจากชายแดนไทย – กัมพูชา ประมาณ 8 กิโลเมตร มีพื้นที่โครงการ ประมาณ 3,456 ไร่ หรือประมาณ 3.9 ตารางกิโลเมตร ในอดีตที่ผ่านมาได้มีราษฎรเข้าหักร้างถางป่าเพื่อยึดเพื่อเป็นพื้นที่ ทำให้บริเวณชายแดนไทย- กัมพูชา เสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย เช่น เกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง ปัญหาการ เสื่อมโทรมของที่ดินทำกิน ปัญหาความยากจนของราษฎร อีกทั้งในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองในประเทศกัมพูชา และยังได้รับผลกระทบจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ค่อนข้างรุนแรง โดยเข้าทำการทำร้าย จับกุม กวาดต้อน
เผาทำลายทรัพย์สินของราษฎร และราชการทำให้ราษฎรต้องอพยพหนีภัย ไม่สามารถทำกินได้ และพื้นที่บางส่วนได้ถูกใช้เป็นพื้นที่รองรับผู้อพยพหนีภัยสงครามจากประเทศกัมพูชา ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว

ต่อมา ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2536 โดย ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระ เจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัดติยราชนารี องค์ ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้ทรงนําหน่วยแพทย์เข้าไปให้การรักษาราษฎรพื้นที่ศูนย์อพยพ-บี (SITE B) ทรงมีพระดําริ ที่จะฟื้นฟูและพัฒนาสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในบริเวณดังกล่าว จึงได้

ให้จัดตั้งโครงการทับทิมสยาม 04 ขึ้น และมีศูนย์การเรียนรู้พัฒนาการเกษตรเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ราษฎรในโครงการฯ
และผู้ที่สนใจ ปัจจุบันโครงการมีลักษณะการดําเนินงาน ซึ่งจะเน้นการทำปศุสัตว์และการเกษตรในรูปแบบสหกรณ์ มีราษฎรเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 ครอบครัว แต่ละครอบครับจะได้รับที่ดิน เป็นที่ตั้งบ้านเรือนประมาณ 2 ไร่ และพื้นที่ทำกินจะเป็นลักษณะแปลงรวม เพื่อใช้เป็นที่ในการปล่อยปศุสัตว์ ออกไปหากินเองส่วนหนึ่ง และเป็นพื้นที่ทำการเกษตรทั่วๆไป ในลักษณะพื้นที่รวมอีกส่วนหนึ่ง รวมถึงหลังบ้านพักอาศัยของทุก ๆ 4 ครอบครัวจะมีสระน้ำขนาด ½ ไร่สำหรับใช้ร่วมกันเพื่อการอุปโภค การเกษตร และการประมง ทรง มีรับสั่ง เนื่องจากการปลูกข้าวของชุมชนที่ผ่านมามีคุณภาพต่ำ กล่าวคือ มีพันธุ์ปนเกินมาตรฐาน ทำให้ขาย ข้าวได้
ราคาต่ำ และไม่มีเมล็ดพันธุ์ดีที่


เหมาะสมเพื่อใช้พาะปลูกในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ จึงเห็นสมควรดําเนินงานการส่งเสริมการ
ผลิตเมล็ดพันธุข้าวในพื้นที่โครงการทับทิมสยาม 04 จังหวัด สุรินทร์เพื่อให้ชาวนามีแหล่งเมล็ดพันธุ์ดีในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชาวนามีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้ เองในครัวเรือน และเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็ง และขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองชองชาวนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

เปิดฉาก "ท่าโขลง เกมส์ 2024" กีฬานักเรียน อปท. ครั้งที่ 38 สุดยิ่งใหญ่! ทัพนักกีฬาทั่วภาคกลาง ตบเท้าร่วมชิงชัย เทียบเท่าการแข่งขันระดับชาติมาตรฐานสากล

เปิดฉาก “ท่าโขลง เกมส์ 2024” กีฬานักเร […]

You May Like

Subscribe US Now