ANT DPU ร่วมแลกเปลี่ยนในงาน Horizon 2030 Collaborating for Digital Tomorrow

ANT DPU ร่วมแลกเปลี่ยนในงาน Horizon 2030 Collaborating for Digital Tomorrow

หลักสูตรวิศวกรรมเว็บและการพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา (Master Program of Web Engineering and Mobile Application Development : WE) ในสังกัดวิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี (College of Creative Design and Entertainment Technology หรือ ANT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดย ผศ. ดร.วิลาวัลย์ อินทร์ชำนาญ คณบดีวิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์แอนด์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์เทคโนโลยีและ รศ. ดร.วราพร จิระพันธุ์ทอง ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ เข้าร่วมงานและนำการแลกเปลี่ยนในงาน Horizon 2030 Collaborating for Digital Tomorrow ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดโดย กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมโซ แบงคอก โดยมี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวเปิดงาน มีคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มาร่วมงานเพื่อรับฟังและเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาและการส่งเสริมกลุ่มธุรกิจดิจิทัล ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้จากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา

รศ. ดร.วราพร จิระพันธุ์ทอง จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้นำการแลกเปลี่ยนภายใต้หัวข้อเรื่อง Blockchain & Digital Assets ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมาจากภาคเอกชน ได้แก่ RakkaR Digital, Bitkub, สมาคมฟินเทคประเทศไทย ส่วนภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) โดยพบว่าปัจจุบันความต้องการใช้เทคโนโลยีในเรื่องของ Blockchain and Digital Assets นั้นมีมากมายและหลากหลาย อาทิ ความต้องการให้ระบบการจัดเอกสารสำคัญ เช่น ทะเบียนรถยนต์ โฉนดที่ดิน เอกสารอสังหาริมทรัพย์ ให้สามารถรองรับด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน หรือความต้องการให้มีการใช้งาน Digital Assets หรือ Digital Assets Bank อย่างแพร่หลายเช่นที่มีอยู่ในต่างประเทศ 

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหรืออุปสรรคที่ทำให้ความต้องการเหล่านี้ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเหตุผลหรือสถานการณ์อันได้แก่ การควบคุมหรือหน่วยงานที่กำกับ (regulators) มีความยุ่งยากมากเกินไปจนทำให้ไม่สามารถนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อยอดได้ และ เสียโอกาสของโอกาสการลงทุน สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ คือ การออกกฎหมายรองรับ E-Transaction เช่น รองรับ Digital Signature รวมถึง Digital Bonds และ Digital Assets เพื่อปลดล็อคระเบียบวิธีการกำกับดูแลให้ยึดหยุ่น และการกำหนดและสร้าง Infrastructure เพื่อรองรับการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชน และเพื่อให้การใช้ Digital Assets เกิดขึ้นได้ ซึ่งหากข้อเสนอต่างๆ นี้เกิดขึ้นจริง และ ถูกนำไปปฎิบัติ จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการนำไปใช้เสริมด้านการแข่งขันของประเทศ และสร้างการเติบโตในด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

 

#Horizon2030CollaboratingforDigitalTomorrow #หลักสูตรวิศวกรรมเว็บและการพัฒนาแอปพลิเคชันฯ #WE #วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ฯ #ANT #มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ #DPU #ข่าวการศึกษา #missionthailand

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

วิทยาลัยนานาชาติ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมงาน Global Sustainable Development Congress 2024

วิทยาลัยนานาชาติ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมงาน Gl […]

You May Like

Subscribe US Now