ต.เถินบุรี !! เปิดโครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม “จักสานก๋วยสลาก” เพื่ออนุรักษ์ ระลึกถึงบรรพบุรุษ ญาติมิตรที่ล่วงลับ

ต.เถินบุรี !! เปิดโครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม “จักสานก๋วยสลาก” เพื่ออนุรักษ์ ระลึกถึงบรรพบุรุษ ญาติมิตรที่ล่วงลับ

 

วันที่ 29 สิงหาคม 2565 นายสมศักดิ์ วัชรธาดาพงศ์ นายอำเภอเถิน เป็นประธานเปิดโครงการ ” สืบสานประเพณีวัฒนธรรม จักสานก๋วยสลาก” ณ วัดดอยป่าตาล ม. 7 ต.เถินบุรี อ.เถิน จ.ลำปาง โดยมีนายกิจเจริญ ไหวดี กำนันตำบลเถินบุรี ประธานชมรม กำนัน – ผู้ใหญ่บ้านอำเภอเถิน ร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เขตพื้นที่ตำบลเถินบุรี จัดโครงการ “สืบสานประเพณีวัฒนธรรมจักสานก๋วยสลาก” เพื่อ แสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษ ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วก๋วยสลากนั้นจะเป็นการนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปทรงกระบอก เพื่อนำมาบรรจุข้าวสารอาหารแห้งและของที่จำเป็นนำไปรวมกันที่วัด เพื่อทำพิธีทางศาสนาแต่เมื่อถึงยุคสมัยเปลี่ยนไป ปัจจุบันชาวบ้านนิยมนำถังพลาสติกมาบรรจุข้าวสารอาหารแห้ง มาแทนการใช้ก๋วยสลากที่จักรสานด้วยไม้ไผ่เหมือนแต่เดิม

 

 

ซึ่งในการจัดกิจกรรม ฝึกอบรมโครงการ”สืบสานประ เพณีวัฒนธรรม จักสานก๋วยสลาก” มีผู้เข้าร่วมโครง การจำนวน 70 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาขนบธรรมเนียม ประเพณีทำก๋วยสลากให้กับประชาชนที่มีความสนใจ เพื่อเป็นการอนุ รักษ์ผลิตภัณฑ์ก๋วยสลากซึ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญา ชาวบ้านให้เด็กและเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา เพื่อเป็น การลดการใช้พลาสติก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน และเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก และเยาวชน ให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเป็นการสร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่งด้วย วิทยากรผู้สอนได้มีผู้สูงอายุ ที่มีความรู้ด้านการจักสานในชุมชน อาจารย์จากศูนย์ กศน. ตำบลเถินบุรี และอาจารย์จากโรงเรียนบ้านป่าตาล ร่วมแบ่งปันความรู้สอนการจักรสาน ให้แก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งนี้

 

 

ทั้งนี้ ชะลอม หรือ ภาษาเหนือ เรียกว่า “ก๋วย” ใช้ใส่สิ่งของได้หลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ ไข่ หรือของแห้งต่าง ๆ ชะลอมเป็นภาชนะจักสานที่ใช้กันทั่วไปทุกภาค ชาวอีสานบางทีเรียก กะลอม ส่วนภาคเหนืออาจเรียกว่าซะลอม การสานชะลอม หรือ “ก๋วย” มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของที่ใช้บรรจุ นอกจากจะใช้ในการใส่สิ่ง ของสำหรับการเดินทางแล้วยังใช้ชะลอมสำหรับการประกอบพิธีกรรมอีกด้วย ดังเช่นในประเพณีทำขวัญข้าว ใส่เครื่องเซ่นเพื่อรับขวัญข้าว เมื่อถึงคราวต้องจัดเครื่องเซ่น

 

 

สำหรับการทำขวัญข้าวในยามที่ข้าวตั้งท้อง หรือประเพณีตานก๋วยสลาก หรือการทำบุญ สลากภัตรของชาวล้านนาในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งนิยมปฏิบัติกันตั้งแต่นห้วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ของทุกปี เป็นประเพณีการทำบุญที่ไม่เลือกเจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง คำว่าตานก๋วยสลากนั้น”ตาน” หมายถึงการถวายทานแด่พระสงฆ์ “ก๋วย” หมายถึงภาชนะสานประเภทตะกร้า ตานก๋วยสลาก จึงหมายถึงการถวายทานด้วยวิธี จับสลากเครื่องไทยทานที่บรรจุมาในชะลอม

 

 

การถวายตานก๋วยสลากมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ เป็นการอุทิศให้เทพยดาและผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นการอุทิศไว้ให้ตนเองเมื่อล่วงลับภาคหน้าด้วยชาวล้านนาเชื่อกันว่าถวายตานก๋วยสลากนี้จะได้รับอานิสงส์แรงมาก เนื่องจากเป็นการทำบุญสังฆทานซึ่งผู้ถวายทานไม่ได้เจาะจงตัวผู้รับว่าจะเป็นพระภิก ษุหรือสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง ปัจจุบันไม่ค่อยมีการใช้ชะลอมอย่าง ดังเช่นในอดีต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

"พรรคเศรษฐกิจไทย" บุกปักธงจังหวัดสตูล เสียงตอบรับเลือกตัวแทนพรรคฯ เขตเลือกตั้งที่ 2 เนืองแน่น

“พรรคเศรษฐกิจไทย” บุกปักธงจังหวัดสตูล […]

You May Like

Subscribe US Now