‘รมว.ธรรมนัส’ บินด่วน ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วม จ.ขอนแก่น สั่งเร่งศึกษา แก้ไขปัญหา

รมว.ธรรมนัสบินด่วน ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วม .ขอนแก่น สั่งเร่งศึกษา แก้ไขปัญหา พร้อมมอบถุงยังชีพ เพื่อเป็นกำลังใจพี่น้องเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย

วันที่ 19 กันยายน 2566 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะผู้บริหาร

กระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมจากลำน้ำยัง ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

โดย เดินทางไปที่หอประชุมโรงเรียนบ้านคำบง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พบปะผู้ประสบอุทกภัย ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งมีนายเอกราช ช่างเหลา สส.ขอนแก่นพรรคภูมิใจไทย คอยให้การต้อนรับ จากนั้นได้พบปะพูดคุยตัวผู้นำในท้องถิ่นเพื่อรับทราบสถานการณ์และผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือ พร้อมมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยด้วย

ร้อยเอกธรรมนัส  เปิดเผยว่า ตามที่มีฝนตกหนักในช่วงคืนวันศุกร์ 15 กันยายน 2566 ต่อเนื่องถึงวันอาทิตย์ 17 กันยายน 2566 ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จนทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำชี ลำน้ำเชิญ และลำห้วยเสือเต้น ได้รับผลกระทบมีน้ำท่วมในพื้นที่ อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอน้ำพองอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอเมืองขอนแก่น โดยปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ อำเภอเขาสวนกวาง 53.4 มม. อำเภออุบลรัตน์ 58.0 มม. อำเภอน้ำพอง 67.8 มม. และอำเภอเมืองขอนแก่น 145 มม. ตามลำดับ ส่งผลให้มีน้ำหลากจากลำห้วยสาขา เช่น ลำห้วยเสือเต้น ลำห้วยคุนมุม ไหลหลากลงมาที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ บริเวณเหนือฝายหนองหวาย ส่งผลให้มีปริมาณน้ำเกินความจุของลำน้ำพอง ทำให้มีน้ำเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรบางส่วน

      

รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่นนั้นมีปัญหาภัยแล้งน้ำท่วมซ้ำซาก ต้องเร่งบูรณาการทั้งจังหวัด และยังมีหนองน้ำตื้นเขิน ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเก็บกักปริมาณน้ำได้ในปริมาณมาก แต่ก็สามารถสนับสนุนโครงการต่าง ได้ เช่น โครงการแก้มลิง ที่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง หรือไว้เป็นที่ระบายน้ำในช่วงน้ำหลาก จึงได้สั่งการให้กรมชลประทานเร่งศึกษาหาทางแก้ไขในระยะยาว

    

สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบประมาณ 7,600 ไร่ จำนวน 500 ครัวเรือน นาข้าวได้รับความเสียหายกว่า 7,000 ไร่ปัจจุบันน้ำลดลงประมาณ 30 ซม. คงเหลือน้ำท่วมสูง 60 – 70 ซม. ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย สำนักงานชลประทานที่ 6 ได้เร่งระบายน้ำผ่านฝายหนองทุกช่องทาง เพื่อลดผลกระทบ พร้อมทั้งเร่งระบายน้ำที่เขื่อนมหาสารคาม เพื่อดึงมวลน้ำจากลำน้ำพองลงแม่น้ำชี เพื่อให้ไหลสะดวกขึ้น โดยแม่น้ำชียังมีช่องว่างสามารถรองรับได้ และไม่เกิดผลกระทบท้ายน้ำในแม่น้ำชี เขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม คาดว่า 1 – 2 วัน จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม

โอกาสนี้ รมว.เกษตรฯ ยังได้มอบหญ้าแห้งอาหารสัตว์พระราชทาน และถุงยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จำนวน 500 ถุง และพี่น้องเกษตรกรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

เกษตรเพื่อการท่องเที่ยว เขียวกินได้ คุ้งบางกะเจ้า สมุทรปราการ

เกษตรเพื่อการท่องเที่ยว เขียวกินได้ คุ้งบางกะเจ้า […]

You May Like

Subscribe US Now