“ธรรมนัส” ปักหมุดพะเยา มอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโคในโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรฯ – MOU 3 หน่วยงาน พัฒนาตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคเหนือ ซื้อขายผลิตผลทางการเกษตรยั่งยืน 

“ธรรมนัส” ปักหมุดพะเยา มอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโคในโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรฯ – MOU 3 หน่วยงาน พัฒนาตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคเหนือ ซื้อขายผลิตผลทางการเกษตรยั่งยืน 

วันที่ 27 ธ.ค. 2566 เวลา 9.30 น. ณ ลานสุขภาพหลังเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ จัดพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโคในโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเนื่องในวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธ.ค. 2566 โดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี

ทั้งนี้ ร.อ.ธรรมนัส ได้มอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือแก่เกษตรกรที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการฯ จำนวน 69 ราย และไถ่ชีวิตโคเพศเมีย จำนวน 120 ตัว โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรภายใต้ระเบียบและหลักกณฑ์ของโครงการฯ ต่อไป

ต่อมาในเวลา 11.05 น. ร.อ.ธรรมนัส ได้เดินทางไป ณ อาคารสโมสรพนักงานเทศบาลเมืองพะเยา ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) พัฒนาตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคเหนือ ระหว่างองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และเทศบาลเมืองพะเยา 

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า จากการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจและเชิงพื้นที่ของจังหวัดพะเยา จะเห็นว่าสามารถสนับสนุนโอกาสแก่เกษตรกรในภาคเหนือ ส่งผลให้มีทิศทางการพัฒนาจังหวัดในพื้นที่ชายแดนในการเป็นศูนย์กลางเพื่อกระจายสินค้า มีการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยว ทั้งทางธรรมชาติ (Ecotourism) และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การเชื่อมโยงเส้นทางโลจิสติกส์ สู่เส้นทางด้านการค้าการลงทุนสู่ประเทศสมาชิกในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ในด้านการเกษตร ซึ่งจังหวัดพะเยา มีศักยภาพเชิงพื้นที่ที่เอื้อต่อการเกษตร โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ยางพารา ลำไย ลิ้นจี่ และพืชไร่ต่างๆ ที่มีผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ สามารถพัฒนาเป็นสินค้าเกษตรปลอดภัย ส่วนด้านการค้าการลงทุน สามารถเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน หากเปิดจุดผ่านแดนได้สำเร็จจะส่งผลในการยกระดับการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวให้สูงขึ้น อีกทั้ง ยังมีพื้นที่เหมาะสมเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างภูมิภาคทั้งกลุ่มอาเซียนและจังหวัดต่างๆ โดยใช้แนวทาง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม ในการลดต้นทุนต่างๆ และสิ่งสำคัญ คือ การเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกร” ของจังหวัดพะเยา ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียงต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

ททท. ร่วมเปิดงานฉลองสมโภช พระอาราม 338 ปี วัดมหาธาตุรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร หวังผลักดัน Soft power กลุ่มนักท่องเที่ยว Sub Culture สายความเชื่อและศรัทธา 

ททท. ร่วมเปิดงานฉลองสมโภช พระอาราม 338 ปี วัดมหาธา […]

You May Like

Subscribe US Now