“ปลัดคลัง” เปิดงานเสวนา “เดลินิวส์ ทอล์ก 2024” หัวข้อ โจทย์ใหญ่ !! อสังหาริมทรัพย์ไทยฟื้นอย่างไรให้ยั่งยืน พร้อมปรับทบทวนภาษีที่ดินทุก 5 ปี คาดปี 67 นี้จัดเก็บได้กว่า 43,000 ล้านบาท

“ปลัดคลัง” เปิดงานเสวนา “เดลินิวส์ ทอล์ก 2024” หัวข้อ โจทย์ใหญ่ !! อสังหาริมทรัพย์ไทยฟื้นอย่างไรให้ยั่งยืน พร้อมปรับทบทวนภาษีที่ดินทุก 5 ปี คาดปี 67 นี้จัดเก็บได้กว่า 43,000 ล้านบาท

วันที่ 28 พ.ค.2567 ที่ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ นสพ.เดลินิวส์และเดลินิวส์ออนไลน์ ได้จัดงานเสวนา เดลินิวส์ ทอล์ก 2024 เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี หัวข้อ โจทย์ใหญ่ !! อสังหาริมทรัพย์ไทยฟื้นอย่างไรให้ยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงาน โดยมีนางประพิณ รุจิรวงศ์ นายปารเมศ เหตระกูล และนางสิริวรรณ พันธุ์ปรีชากิจ กรรมการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และเดลินิวส์ออนไลน์ นายนต รุจิรวงศ์ เลขานุการ คณะกรรมการบริหาร และนายนนท์ รุจิรวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและจัดจำหน่าย พร้อมด้วยผู้บริหารเดลินิวส์ให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ ภายหลังเปิดงาน นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ครบ 5 ปี ภาษี ที่ดินฯ : อนาคตอสังหาฯ และเศรษฐกิจไทย” โดยกล่าวว่า อสังหาริมทรัพย์ถือว่าเป็นภาคส่วนใหญ่ที่มีผลต่อเศรษฐกิจสูงมาก รัฐบาลมองว่าการดูแลเศรษฐกิจในช่วงที่งบประมาณปี 2567 ยังไม่ออกมา จำเป็นต้องใช้ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงต้นปี โดยจะเห็นว่ามีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ บางมาตรการเป็นสิ่งที่เคยทำต่อเนื่องมา บางมาตรการไม่เคยทำ เช่น มูลค่าบ้านที่สูงกว่า 3 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งต้องมองว่าภาคอสังหาริมทรัพย์มีพลังที่จะสร้างแรงกระเพื่อมต่อเศรษฐกิจไทย “เชื่อว่าวันนี้ สต๊อกบ้านที่มีอยู่ สามารถระบายออกไปได้พอสมควร และหวังว่าจะเกิดการลงทุนใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้ ให้ตัวเลขออกมาดีกว่า Q1 โดยต้องยอมรับความจริง ว่าปัจจัยเรื่องงบประมาณของรัฐบาล ยังไม่ลงไปในมิติของการลงทุนภาครัฐซึ่งมีขนาดใหญ่พอสมควร ซึ่งต่อจากนี้ไปเชื่อว่า Q2 Q3 บวกกับมาตรการอื่นๆ ที่จะทยอยออกมาเป็นระยะ กระทรวงการคลังจะพยายาม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้เติบโต เต็มศักยภาพให้ได้มากที่สุด และบางมาตรการเชื่อว่าจะเกี่ยวข้องกับด้านอสังหาริมทรัพย์”

สำหรับมิติเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีความสำคัญต่อผู้ประกอบการซึ่งถือเป็นต้นทุน เช่นเดียวกับประชาชนผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินต่างๆ ก็เป็นต้นทุน เช่นเดียวกัน ซึ่งขณะนี้เราใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาครบ 5 ปีแล้ว โดยตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องมีการทบทวนว่า 5 ปีที่ผ่านมาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ออกไปตอบโจทย์ตามความคาดหวังที่ตั้งไว้หรือไม่ หรือมีสิ่งไหนใหม่ที่ควรจะต้องปรับปรุงแก้ไข ซึ่งสามารถแก้ได้ไม่ต้องรอจนถึง 10 ปี หรือ 20 ปี โดยขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังดำเนินการอยู่

ทั้งนี้ เรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในมุมของกระทรวงการคลัง มองว่าการจะออกภาษีใหม่ๆสักตัวหนึ่งถือเป็นเรื่องที่ยาก “หากพอจำได้ ก่อนที่จะเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภาษีจะออกมาใช้ ภาษีตัวล่าสุดที่กระทรวงการคลังออกมา คือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ แต่ต้องยอมรับว่าใช้มานาน อาจจะเคยดีในยุคสมัยหนึ่ง โดยภาษีโรงเรือนและที่ดินออกมาครั้งแรกปี พ.ศ. 2475 ส่วนภาษีบำรุงท้องที่ ออกมาในปี พ.ศ. 2508 ซึ่งทั้งสองภาษีนี้เคยเป็นภาษีที่เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น แต่ในยุคสมัยปัจจุบันเราเห็นปัญหาเยอะมากของภาษี 2 ตัวนี้ กระทรวงการคลังจึงคิดจะปรับปรุงภาษีทั้ง 2 ตัว จนกลายเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบัน”

นายลวรณ กล่าวถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ว่าเป็นหลักของความมั่งคั่ง ซึ่งเมื่อก่อนนี้เป็นที่นิยมมากของเศรษฐีในยุคหนึ่งที่สะสมความมั่งคั่งในรูปของที่ดิน ซึ่งแน่นอนว่าที่ดินมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ไม่มีต้นทุนในการถือครอง โดยสามารถสะสมความมั่งคั่งนี้ส่งต่อให้ลูกหลานต่อไป โดยเราจะเห็นพื้นที่รกร้างล้อมรั้วสังกะสี โดยไม่ขายให้ใคร เหตุจากการสะสมความมั่งคั่งคือ “ที่ดิน”

“วันนี้ถามว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เก็บแล้วเอาไปไหน มั้งนี้ รายได้จากภาษีฯนี้ไม่ใช่ของรัฐบาล แต่เป็นของท้องถิ่นทั้งหมด โดยท้องถิ่นใช้ความสามารถ ใช้ความขยัน ใช้ความตั้งใจในการเก็บ เก็บได้เท่าไรท้องถิ่นสามารถจะใช้ได้เองตามความต้องการของผู้บริหารท้องถิ่น เช่น จะไปทำถนน ทำไฟฟ้า ทำประปา ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือจัดการขยะ ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น เงินนี้เป็นอิสระ เปรียบเสมือนค่าส่วนกลางในหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียม ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นที่ดีต้องใช้เงินนี้อย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นที่ท่านอยู่ หากมีการบริหารจัดเก็บที่ดี มีการเอารายได้ไปใช้อย่างถูกต้องอย่างเหมาะสม ผู้บริหารท้องถิ่นชุดนั้นก็จะได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่น ต่อไป” นายลวรณ กล่าว

นายลวรณ กล่าวถึงการกำหนดเรทภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ว่า กระทรวงการคลัง ประเมินว่าอยากได้เรทที่เมื่อจัดเก็บภาษีแล้วยอดรวมใกล้เคียงกับภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งหากดูผลของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถือว่าตัวเลขเป็นที่น่าสนใจ โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเริ่มใช้ในปี 2562 – 2564 แต่ต้องประสบกับปัญหาสถานการณ์โควิด-19 จึงไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มที่ 100% ทั้งนี้สามารถเริ่ม เก็บภาษีได้เต็มที่ 100% ในปี 2565 อยู่ที่ 35,000 ล้านบาท หากเทียบกับปี 2562 ที่ 36,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าใกล้เคียงมาก โดยคาดการณ์ปี 2567 ประเมินว่าน่าจะเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้ประมาณ 43,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ โอกาสของท้องถิ่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังสามารถทำได้อีกเยอะ แต่ยังคงมีอุปสรรค เช่น การอัพเดทข้อมูล ซึ่งกระทรวงการคลัง กรมที่ดิน และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีทีมงานที่พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่น มีเครื่องมือ มีข้อมูลที่ทันสมัยและรวดเร็วในการจัดเก็บภาษี และเชื่อว่าการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพราะฐานของภาษี คือ ฐานของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งแน่นอนว่าราคาประเมินของที่ดินเพิ่มขึ้นทุกรอบของการประเมิน จึงมั่นใจว่าท้องถิ่นจะมีรายได้สูงขึ้นแน่นอน

นายลวรณ กล่าวถึง การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นฐานภาษีที่ใหญ่ที่สุด คือ 99.4% จากการสำรวจในปัจจุบัน ที่ดินใน กทม.มี 2.1 ล้านแปลง มีสิ่งปลูกสร้าง 2.2 ล้านหลัง อาคารชุด 1 ล้านหลัง ทำให้วันนี้รายได้โดยรวมของ กทม.จากการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้ลดลงแต่ดีขึ้น

ซึ่งข้อดีของภาษีที่ดินและเศษปลูกสร้าง คนที่เก็บเป็นคนประเมินทำให้เกิดความชัดเจน ในส่วนของข้อมูลที่มีความละเอียด ซึ่งผู้ประกาศเป็นสาธารณะให้สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ในส่วนของอัตราภาษีที่เป็นอัตราเดียว ถือว่าเป็นอัตราขั้นต่ำที่ถูกกำหนดจากรัฐบาลซึ่งไม่สามารถเก็บต่ำกว่านี้ได้แต่เปิดช่องให้ท้องถิ่นที่มีความกล้าหาญสามารถเก็บสูงกว่านี้ได้ดังนั้นท้องถิ่นที่พัฒนาไปถึงจุดหนึ่งสามารถอธิบายคนในชุมชนได้ว่าปลาเส้นนี้ถูกเก็บไปเพื่ออะไรนำไปใช้ประโยชน์อะไรเหมือนการขึ้นค่าส่วนกลาง หากอธิบายรูปบ้านได้ก็สามารถขึ้นได้นี่คือข้อดี ซึ่งถือเป็นความท้าทายของกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับนี้

“หากถามว่า กระทรวงการคลังคาดหวังอะไรกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มองว่าอย่างแรก ถือเป็นหลักสำคัญ คือวันนี้ท้องถิ่นจะแข็งแรง ท้องถิ่นจะเข้มแข็ง ท้องถิ่นต้องมีความเป็นอิสระ ทั้งอิสระในการกำหนดนโยบาย อิสระในการหารายได้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็จะเป็นเครื่องมือหลักในการที่จะทำให้ท้องถิ่นเริ่มต้นรายได้ของตนเอง” นายลวรณ กล่าว

นายลวรณ กล่าวทิ้งท้ายว่า วันนี้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างครบ 5 ปี ผ่านกระบวนการในการเปิดรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 15 พฤษภาคม เป็นเวลา 45 วัน โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นมา 500 กว่าราย ซึ่งจะเป็นการบ้านที่กระทรวงการคลัง ต้องนำไปประมวลว่าสิ่งที่เป็นข้อเสนอแนะ ข้อแนะนำ เพื่อไปทำแบบประเมินผลสำเร็จของกฎหมาย ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้จะสำเร็จ มั่นใจว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถือเป็น สิ่งที่ดี”

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการเสวนาเรื่อง “ส่องอสังหาริมทรัพย์ไทย พร้อมผงาดแค่ไหน?” โดยนายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย นายมนู ตระกูลวัฒนะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีคอน จำกัด และดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ รายงานผล 2 ปี แห่งการทำงาน “ประชาชนคือเจ้านาย หัวใจรับใช้ประชาชน” พร้อมเดินหน้าทำให้คนเมืองเหนื่อยน้อยลง

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ รายงานผล 2 ปี แห่งการทำงาน “ประชาช […]

You May Like

Subscribe US Now