สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าพบ รมช.ศึกษา หารือยกระดับเกษตรกรไทย ผ่านอาชีวะเกษตร เตรียม MOU 4 ภาค ขับเคลื่อนแบบมืออาชีพ พร้อมตั้งเป้าพัฒนาอาชีพ “ชลกร” สร้างมาตรฐานสากล ช่วยคนมีงานทำ มีรายได้
นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) นำคณะผู้แทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นำโดยนางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการ เข้าพบดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพูดคุยหารือและนำเสนอแนวทางความร่วมมือในการยกระดับมาตรฐานบุคลากรด้านการเกษตรสู่ความเป็นมืออาชีพ ตามนโยบายที่ต้องการจะยกระดับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เพื่อสร้างผู้ประกอบการภาคการเกษตรให้สอดคล้องกับสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 โดยเตรียมที่จะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการยกระดับมาตรฐานบุคลากร ร่วมกับสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร (สอก.) ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ให้เป็นผู้ประกอบอาชีพด้านการเกษตรมืออาชีพ
โดยเฉพาะการเตรียมผลักดันและพัฒนาอาชีพ “ชลกร” ให้มีมาตรฐานในระดับสากล โดยใช้เกณฑ์การประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ภายใต้เป้าหมายในการช่วยเหลือเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้มีอาชีพ มีรายได้ ช่วยแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายคุณหญิงกัลยาที่ต้องการปฏิรูปการศึกษาเน้นไปสู่ตัวผู้เรียนโดยตรง
นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) นำคณะผู้แทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นำโดยนางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการ เข้าพบดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพูดคุยหารือและนำเสนอแนวทางความร่วมมือในการยกระดับมาตรฐานบุคลากรด้านการเกษตรสู่ความเป็นมืออาชีพ ตามนโยบายที่ต้องการจะยกระดับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เพื่อสร้างผู้ประกอบการภาคการเกษตรให้สอดคล้องกับสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 โดยเตรียมที่จะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการยกระดับมาตรฐานบุคลากร ร่วมกับสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร (สอก.) ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ให้เป็นผู้ประกอบอาชีพด้านการเกษตรมืออาชีพ
โดยเฉพาะการเตรียมผลักดันและพัฒนาอาชีพ “ชลกร” ให้มีมาตรฐานในระดับสากล โดยใช้เกณฑ์การประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ภายใต้เป้าหมายในการช่วยเหลือเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้มีอาชีพ มีรายได้ ช่วยแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายคุณหญิงกัลยาที่ต้องการปฏิรูปการศึกษาเน้นไปสู่ตัวผู้เรียนโดยตรง