อธิบดีกรมประมง เปิดงาน The 18 th (Eighteenth) INFOFISH World Tuna Trade Conference and Exhibition 2024, “TUNA 2024” เวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสารการบริหารจัดการทั้งห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมปลาทูน่าทั่วโลก

อธิบดีกรมประมง เปิดงาน The 18 th (Eighteenth) INFOFISH World Tuna Trade Conference and Exhibition 2024, “TUNA 2024” เวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสารการบริหารจัดการทั้งห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมปลาทูน่าทั่วโลก

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เป็นประธานเปิดงาน The 18th (Eighteenth) INFOFISH World Tuna Trade Conference and Exhibition 2024, “TUNA 2024” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยมี HE. Jelta Wong MP (Minister of Fisheries and Marine Resources, Independent State of Papua New Guinea), HE. Ahmed Shiyam (Minister for Fisheries & Agriculture, Ministry of Fisheries & Agriculture of the Republic of the Maldives), HE. Ribanataake Tiwau (Minister of Fisheries and Marine Resources Development, Ministry of Fisheries and Marine Resources Development of the Republic of Kiribati),Mr Rovereto Nayacalevu (Acting Permanent Secretary for the Ministry of Fisheries, Fiji), Ms Rhea Moss – Christian (Conference Chair of TUNA 2022), Dr. Chanintr Chalisarapong (Co – Conference Chair of TUNA 2022), Ms. Gemma Meermans Matainaho (Acting Director of INFOFISH) ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมปลาทูน่าทั่วโลกกว่า 500 คน เข้าร่วม

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพร่วมได้ร่วมมือกับ INFOFISH ในการจัด The 18th (Eighteenth) INFOFISH World Tuna Trade Conference and Exhibition 2024,“TUNA 2024” ซึ่งถือเป็นการประชุมและจัดแสดงสินค้าปลาทูน่าที่ใหญ่ที่สุดของโลก และมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปลาทูน่าจากทั่วโลกให้ความสนใจและเข้าร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้การบริหารจัดการทั้งห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมปลาทูน่าทั่วโลก โดยจะมีหัวข้อการบรรยาย ที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกัน อาทิ

 1. การส่งเสริมการจัดการทรัพยากรปลาทูน่าในเขตทะเลหลวงอย่างยั่งยืน       

 2. การขยายโอกาสการเข้าถึงตลาดปลาทูน่าของโลก

 3. การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศผู้ทำการประมงปลาทูน่า และประเทศผู้ส่งออกปลาทูน่าเพื่อกันไม่ให้มีปลาทูน่าที่มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย     

 4. การบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบ

 5. การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการประมงปลาทูน่าและอุตสาหกรรมปลาทูน่า 

6. การเสริมสร้างความยั่งยืนทางสังคม สำหรับชาวประมงและแรงงานประมงในภาคอุตสาหกรรมปลาทูน่า ที่สำคัญ เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมปลาทูน่าในการพัฒนาอุตสาหกรรมปลาทูน่าให้มีความยั่งยืนต่อไป 

สำหรับในส่วนของประเทศไทย กรมประมงได้มีการเสนอข้อมูลสำคัญของอุตสาหกรรมทูน่าไทย ปีพ.ศ. 2566 ซึ่งประไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าไปยัง 155 ประเทศทั่วโลก ปริมาณโดยรวมประมาณ 445,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยวัตถุดิบปลาทูน่าที่ประเทศไทยใช้ในการผลิตหรือแปรรูปเกือบทั้งหมดมาจากการนำเข้า ส่งผลทำให้ประเทศไทยอยู่ในสถานะผู้นำเข้าวัตถุดิบปลาทูน่ารายใหญ่ของโลก 

ซึ่งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนของทรัพยากรปลาทูน่า และทรัพยากรสัตว์น้ำของโลก เพื่อการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ขององค์กรสหประชาชาติ และข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในทะเล ตลอดจนการส่งเสริมการอยู่ดีกินดี ของชาวประมง รัฐบาลไทย โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการป้องกันการทำประมง IUU การสร้างความโปร่งใสในอุตสาหกรรมปลาทูน่าของไทยในการตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งที่มาของวัตถุดิบปลาทูน่า และความร่วมมือกับองค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค (RFMOs) ในการแบ่งปันข้อมูลปลาทูน่าที่ขึ้นท่า ณ ประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการบริหารจัดทรัพยากรปลาทูน่าของโลก

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้แสดงเจตจำนงในการแก้ปัญหาการทำประมง IUU ด้วยการ นำมาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศมาบังคับใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของประเทศ ซึ่งร่วมถึงการนำมาตรการรัฐเจ้าของท่า (PSMA) มาตรการการตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าสัตว์น้ำก่อนที่จะอนุญาตนำเข้าประเทศ และมาตรการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวัง (Monitoring Control and Surveillance : MCS) มาใช้ร่วมกับกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ซึ่งถือว่าเป็นต้นทางที่ส่งผลต่อความยั่งยืน ของอุตสาหกรรมปลาทูน่าและทรัพยากรปลาทูน่า อันจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าจากประเทศไทยไม่ได้มาจากการทำประมง IUU 

“ประเทศไทยขอสนับสนุนให้ทุกประเทศและทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมปลาทูน่า ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมปลาทูน่า ด้วยการนำหลักการของ Blue Transformation ของ FAO มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาอุตสาหกรรมปลาทูน่าของโลกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม อันจะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมปลาทูน่าให้มีความยั่งยืน ในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร การปรับตัวต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร การจ้างงานและบรรเทาความยากจน การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ตลอดจนการมีหลักธรรมาภิบาลที่ดี”นายบัญชา กล่าว

#กรมประมง

#Mission Thailand News 

#“TUNA 2024”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยัน ข้าว 10 ปี จากโกดัง จ.สุรินทร์ ปลอดภัย กินได้ คุณค่าสารอาหาร - ทางโภชนาการ ไม่ต่างจากข้าวทั่วไป

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยัน ข้าว 10 ปี จาก […]

You May Like

Subscribe US Now