“รมว.ธรรมนัส” ตอกย้ำความเชื่อมั่นเกษตรกร นั่งสักขีพยาน “ส.ป.ก. MOU ธ.ก.ส.” เพิ่มมูลค่าโฉนดเพื่อการเกษตร 1 ล้านแปลง วงเงินทะลุ 490,000 ล้านบาท เป็นของขวัญปีใหม่ไทย ลั่น “ทำได้จริง ไม่ใช่พูดลอยๆ”

“รมว.ธรรมนัส” ตอกย้ำความเชื่อมั่นเกษตรกร นั่งสักขีพยาน “ส.ป.ก. MOU ธ.ก.ส.” เพิ่มมูลค่าโฉนดเพื่อการเกษตร 1 ล้านแปลง วงเงินทะลุ 490,000 ล้านบาท เป็นของขวัญปีใหม่ไทย ลั่น “ทำได้จริง ไม่ใช่พูดลอยๆ”

วันที่ 9 เมษายน 2567 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่าง สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ว่าด้วยการให้ผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ขอรับสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยมี นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ญ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณรงค์ ขันติวิริยะกุล รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ลงบันทึกข้อตกลง หรือ MOU ระหว่าง ส.ป.ก. กับ ธ.ก.ส. วันนี้ เป็นการตอกย้ำให้พี่น้องเกษตรกรมีความเชื่อมั่น ว่านโยบายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ออกนโยบายโดยการเปลี่ยนเอกสารสิทธิ์ประเภท ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร โดยยืนยันว่าจะเพิ่มมูลค่าที่ดินให้มีมูลค่ามากกว่าเดิม ซึ่งในวันนี้ได้มีการทำ MOU ชัดเจน ว่าราคาประเมินสูงสุดถึง 80% หมายความว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นโฉนดเพื่อการเกษตรมีมูลค่าสูงขึ้น นอกจากนี้ในการรณรงค์มาตรการ EUDR ที่จะ Kick Off ในวันที่ 20 เมษายนนี้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของไม้ประเภทยางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่กลุ่มสหภาพยุโรปมีการรณรงค์ไม่ให้ปลูกในพื้นที่ที่บุกรุกและทำลายป่าไม้ ซึ่งประเทศไทยจะได้เปรียบในการปฏิบัติการครั้งนี้ โดยมีการสำรวจอย่างเอาจริงเอาจังในพื้นที่ ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 9 ล้านกว่าไร่ มีมูลค่ามหาศาล รวมไปถึงอนาคตจะมีการขายคาร์บอนเครดิต โดยจะสามารถเพิ่มมูลค่าในทรัพย์สินให้กับพี่น้องเกษตรกร นอกจากนี้จะมีนโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน สิ่งที่สำคัญคือต้องเพิ่มมูลค่าในสินทรัพย์ ในแปลงโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตร

นอกจากนี้ ในส่วนสถาบันการเงินที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ในอนาคตจะมีการพูดคุยกับธนาคารอื่นๆ โดยจะหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โดยจะหารือกันเบื้องต้น ในกรอบของผู้บริหารก่อนส่วนในเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการประกันตัวผู้ต้องหา ตนได้มอบหมายให้เลขา ส.ป.ก ในการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

“สิ่งที่ตนโต้ตอบฝ่ายค้านหรือฝ่ายไหนก็ตาม ที่พยายามด้อยค่า ส.ป.ก. ในการเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร ขณะนี้ทำได้จริง ไม่ใช่พูดลอยๆ” ร.อ.ธรรมนัส กล่าว

ทั้งนี้ ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ที่ต้องการให้ประชาชน สามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เพื่อสร้างโอกาสในการมีอาชีพ รายได้ และความมั่นคงในชีวิตโดยรัฐบาล จะเร่งดําเนินการให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดิน มีชีวิตที่มั่นคง พิจารณาเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ให้เป็นโฉนดเพื่อให้สามารถ นําไปต่อยอดให้เข้าถึงแหล่งทุนได้ นํามาพัฒนาที่ดินเพี่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นระยะยาว ประกอบกับนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส ที่ต้องการเปลี่ยนเอกสารสิทธิที่ดินจากหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร พร้อมขยายสิทธิการใช้ประโยชน์ให้เป็นที่ยอมรับเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ค้ำประกันสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้อย่างกว้างขวาง 

ส.ป.ก.ในฐานะผู้รับผิดชอบการเปลี่ยน เอกสารสิทธิที่ดินจาก ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร ได้ดําเนินการแก้ไขระเบียบให้รองรับโฉนดเพื่อการเกษตร ตลอดจนสิทธิและการใช้ประโยชน์ส่วนเพิ่มเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะการใช้โฉนดเพื่อการเกษตรเป็นหลักประกันเงินกู้กับ ธ.ก.ส. โดยปัจจุบันมีเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินใช้เอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 เป็นหลักประกันสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. ตามบันทึกข้อตกลงฉบับเดิม (ยังไม่ครอบคลุมถึงโฉนดเพื่อการเกษตร) ประมาณ 350,000 ราย คิดเป็นวงเงินประมาณ 130,000 ล้านบาท และจากบันทึกข้อตกลงฉบับใหม่นี้จะทําให้ผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สามารถเข้าถึง แหล่งเงินทุนจากวงเงินสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 80 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินกรมธนารักษ์ โดยเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร จํานวน 1 ล้านแปลง ในปี 2567 คิดเป็นวงเงิน สินเชื่อประมาณ 490,000 ล้านบาท นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถนําไม้ยืนต้นที่ปลูกในที่ดิน ส.ป.ก. ในรูปของ “โฉนดต้นไม้” ตามนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส มาเป็นหลักประกันสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ได้อีกทางหนึ่ง

 

#กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ #ธรรมนัสพรหมเผ่า #รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ #สปกMOUธกส #เพิ่มมูลค่าโฉนดเพื่อการเกษตร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Next Post

"นฤมล" ร่วมมือ "Tencent" ลุย Social Commerce ส่งเสริมสินค้าไทย และ soft power ไทยสู่ลูกค้าจีนผ่าน WeChat 1,400 ล้านคน

“นฤมล” ร่วมมือ “Tencent” ล […]

You May Like

Subscribe US Now